เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 14. โปสาลมาณวปัญหานิทเทส
หลายสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง ของพระองค์เองว่า “ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนี้
มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้น
ก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร
เสวยสุขทุกข์ มีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้น จึงมาเกิดในภพนี้” ทรงแสดงชาติก่อน
ได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไป และชีวประวัติอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคทรง
แสดงอดีตธรรมของพระองค์อย่างนี้
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอดีตธรรมของชนเหล่าอื่น อย่างไร
คือ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอดีตธรรม คือ 1 ชาติบ้าง 2 ชาติบ้าง ฯลฯ
หลายสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง ของชนเหล่าอื่นว่า “ในภพโน้น เขามีชื่ออย่างนี้
มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นก็ไป
เกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เขาก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร
เสวยสุขทุกข์ มีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้” พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงชาติก่อน ได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไป และชีวประวัติอย่างนี้
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอดีตธรรมของชนเหล่าอื่นอย่างนี้1
พระผู้มีพระภาค เมื่อตรัสชาดก 500 ชื่อว่าทรงแสดงอดีตธรรมของพระองค์
และชนเหล่าอื่น เมื่อตรัสมหาปทานิยสูตร2 ชื่อว่าทรงแสดงอดีตธรรมของพระองค์
และชนเหล่าอื่น เมื่อตรัสมหาสุทัสสนิยสูตร3 ชื่อว่าทรงแสดงอดีตธรรมของพระองค์
และชนเหล่าอื่น เมื่อตรัสมหาโควินทิยสูตร4 ชื่อว่าทรงแสดงอดีตธรรมของพระองค์
และชนเหล่าอื่น เมื่อตรัสมาฆเทวิยสูตร5 ก็ชื่อว่าทรงแสดงอดีตธรรมของพระองค์
และชนเหล่าอื่น

เชิงอรรถ :
1 ที.สี. (แปล) 9/31/13-15
2 มหาปทานสูตร พระสูตรที่ว่าด้วยประวัติของมหาบุรุษทั้งหลาย (ที.ม. 10/1-94/1-48)
3 มหาสุทัสสนสูตร พระสูตรที่ว่าด้วยสมบัติของพระเจ้ามหาสุทัสสนะ (ที.ม. 10/241-272/148-173)
4 มหาโควินทสูตร พระสูตรที่ว่าด้วยเรื่องราวของพราหมณ์ชื่อมหาโควินทะ (ที.ม. 10/293-330/189-
215)
5 มาฆเทวสูตร พระสูตรที่ว่าด้วยประวัติของท้าวมฆเทพ (ม.ม. 13/308-316/288-296)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :284 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 14. โปสาลมาณวปัญหานิทเทส
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “จุนทะ ตถาคตมีญาณอันตามระลึก
ปรารภอดีตกาลยาวนาน ตถาคตมุ่งอดีตกาลยาวนานเท่าใด ก็ระลึกได้เท่านั้น
ตถาคตมีญาณอันตามระลึก ปรารภอนาคตกาลยาวนาน ฯลฯ จุนทะ ญาณอันเกิดที่
ต้นโพธิ์ของตถาคต ปรารภปัจจุบันกาลยาวนาน เกิดขึ้นว่า ‘ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้
ภพใหม่ต่อไป ไม่มี”1
พระอินทริยปโรปริยัตตญาณ (ญาณอันกำหนดรู้ความยิ่งและหย่อนแห่ง
อินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย) เป็นกำลังของตถาคต พระอาสยานุสยญาณ (ความรู้จัก
ฉันทะที่มานอนและกิเลสที่นอนเนื่อง) ของเหล่าสัตว์ เป็นกำลังของตถาคต พระยมก-
ปาฏิหาริยญาณ (ญาณเป็นเครื่องนำธรรมชาติคู่ตรงข้ามกันกลับมาแสดง) เป็นกำลัง
ของตถาคต พระมหากรุณาสมาปัตติญาณ (ญาณในพระมหากรุณาสมาบัติ) เป็น
กำลังของตถาคต พระสัพพัญญุตญาณ เป็นกำลังของตถาคต พระอนาวรณญาณ
(ญาณที่หาเครื่องกางกั้นไม่ได้) เป็นกำลังของตถาคต พระอนาวรณญาณอันไม่มีอะไร
ข้อง ไม่มีอะไรขัดได้ในทุกแห่งหน เป็นกำลังของตถาคต พระผู้มีพระภาคทรงแสดง
คือ บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศอดีตธรรม
บ้าง อนาคตธรรมบ้าง ปัจจุบันธรรมบ้าง ของพระองค์และชนเหล่าอื่นอย่างนี้ รวม
ความว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์ใด ... ทรงแสดงอดีตธรรม
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านโปสาละทูลถาม ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ
คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก ฯลฯ
คำว่า โปสาละ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น ฯลฯ ชื่อเรียกเฉพาะ รวมความว่า
ท่านโปสาละทูลถาม ดังนี้
คำว่า ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว ตัดความสงสัยได้แล้ว อธิบายว่า ตัณหา
ตรัสเรียกว่า เหตุให้หวั่นไหว ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา
อกุศลมูลคือโลภะ2

เชิงอรรถ :
1 ที.ปา. 11/187/116
2 ดูรายละเอียดข้อ 2/50-51

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :285 }